Alt Intro Image

(Soy Ink) หมึกรักษ์โลก

หมึกพิมพ์น้ำมันถั่วเหลืองมีลักษณะคล้ายกับหมึกพิมพ์ที่มีขายทั่วไป โดยแตกต่างกันตรงส่วนประกอบที่ใช้น้ำมันถั่วเหลืองมาทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม

น้ำมันถั่วเหลืองที่นำมาใช้ไม่มีสารพิษและเป็นชนิดเดียวกับที่นำมาใช้ในการทำน้ำมันพืช เนย และสลัด

หมึกพิมพ์น้ำมันถั่วเหลืองสามารถใช้งานกับการพิมพ์ระบบออฟเซตปกติได้ทุกชิ้นงาน และปัจจุบันได้มีการคิดค้นสูตรหมึกพิมพ์น้ำมันถั่วเหลืองให้สามารถใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น 

เช่น หมึกพิมพ์หนังสือพิมพ์ หมึกพิมพ์ระบบออฟเซตแบบป้อนแผ่น

 น้ำมันถัวเหลืองที่อยู่ในหมึกพิมพ์ช่วยให้สารสีทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและหาได้ง่ายทั่วโลก

 

หมึกพิมพ์ที่ใช้น้ำมันถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบมีส่วนผสมของสารระเหยต่ำ (VOCs) ช่วยให้มลพิษทางอากาศที่สูดดมเข้าไปลดน้อยลง

นอกจากนั้นหมึกพิมพ์น้ำมันถั่วเหลืองยังช่วยให้การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่ ทำได้ง่ายขึ้นในกระบวนการแยกหมึกออกจากสิ่งพิมพ์

 

จุดเด่น

1.• เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2.• ให้สีสันของหมึกที่สดใส

3.• ช่วยยืดอายุการใช้ของเครื่องพิมพ์

4.• กระดาษที่ใช้พิมพ์สามารถนำมา recycle ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นฐานจากน้ำมันพืช

5.• สามารถประหยัดหมึกในการพิมพ์งานยาว

จุดด้อย

1.• ไม่สามารถนำมาใช้กับงานประเภทที่เป็นหมึกได้ทุกอย่าง อาทิ ปากกาลูกลื่น พริ้นเตอร์ (Personal printers)

2.• แห้งตัวช้ากว่าหมึกฐานน้ำมันปิโตรเลียม เนื่องจากว่า Soy ink ไม่มีการระเหยตัวละลายในโครงสร้างของ VOCs. (Volatile Organic Compounds)

Alt Intro Image

"การเข้าเล่มนั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้นำไปใช้งานและวัตถุประสงค์ในการใช้งาน การออกแบบงานเพื่องานเข้าเล่ม จะต้องคำนึงถึงการจัดวางหน้ากระดาษ ระยะขอบและระยะเข้าเล่ม เพื่อนำไปเข้าเล่ม โดยไฟล์งานที่จัดทำต้องมีความสอดคล้องกันกับการเข้าเล่มที่ต้องการ"

การเข้าเล่มมี 6 แบบ ได้แก่

การเข้าเล่มแบบกาวหัว เหมาะกับงานพิมพ์ประเภทสมุดฉีกบิลเล่มกระดาษก้อนหรือกระดาษโน้ตที่สามารถฉีกออกมาได้เป็นแผ่นๆ การเข้าเล่มแบบกาวหัวนี้สามารถทำได้ตั้งแต่ 50 แผ่นขึ้นไป กระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มกาวหัวคือกระดาษปอนด์

การเข้าเล่มแบบไสกาว นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท นิตยสารแค็ตตาล็อกโฟโต้บุ๊ค หนังสือเรียนรายงานประจำปี และวารสาร จำนวนหน้าที่เหมาะแก่การไสกาวคือ 30 -150 หน้า หรือความหนาของสันเริ่มต้นตั้งแต่ 5 ซมความหนาของกระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มไสกาวตั้งแต่ 70 – 160 แกรม

การเข้าเล่มแบบเย็บกี่ไสกาว เป็นการเข้าเล่มโดยจะต้องจัดชุดแบบมุงหลังคาแบ่งเป็นเล่มเล็ก ๆ และเย็บด้วยด้ายก่อน แล้วนำไปใสกาวอีกที การเข้าเล่มแบบนี้ทำให้งานที่ได้มีความแข็งแรง แน่นหนา เนื้อในไม่หลุดง่าย นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภทนิตยสารแค็ตตาล็อกโฟโต้บุ๊ค และหนังสือเรียน จำนวนหน้าที่เหมาะแก่การไสกาวคือ 150 หน้าเป็นต้นไป หรือความหนาของสันเริ่มต้นตั้งแต่ 5 ซมความหนาของกระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มเย็บกี่ไสกาวตั้งแต่ 70 – 160 แกรม

การเข้าเล่มแบบเย็บแม็คมุงหลังคา นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่มีจำนวนหน้าน้อย ๆ ในการเข้าเล่มแบบนี้จะต้องหาร 4 ลงตัว กล่าวคือเริ่มต้นด้วยจำนวนหน้า 8,12,16,20,24,28 หน้า ความหนาของกระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มแบบมุงหลังคาตั้งแต่ 70 – 260 แกรมนิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท เมนูอาหารแค็ตตาล็อกสมุดเรียนสมุดบันทึก และวารสาร

การเข้าเล่มแบบเย็บหมุด คือการเข้าเล่มแบบตอกหมุด ถึง 4 ตัว ตามความเหมาะสมของรูปเล่ม การเข้าเล่มแบบเย็บหมุดนิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท เมนูอาหาร และแค็ตตาล็อกสินค้า จำนวนหน้าที่เหมาะแก่การเข้าหมุดคือ 20 หน้าเป็นต้นไปความหนาของกระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มแบบเย็บหมุดตั้งแต่ 160- 350 แกรม การเข้าเล่มแบบเย็บหมุดนี้ต้องเว้นสันเพื่อใช้ในการเข้าหมุด ประมาณ 2 ซม.

การเข้าเล่มแบบเข้าห่วง คือการเข้าเล่มโดยการเจาะรูบนตัวงานเป็นแถวเดียวกันเพื่อใช้ในการร้อยห่วงมีการเว้นขอบคล้ายๆการเข้าเล่มแบบเย็บหมุดนิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท 

สมุดโน้ตสมุด Planner, เมนูอาหาร และแค็ตตาล็อก จำนวนหน้าที่เหมาะแก่การเข้าห่วงคือ หน้าเป็นต้นไป ความหนาของกระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มแบบเข้าห่วงตั้งแต่ 160- 350 แกรม

http://www.ktip.co.th/index.php/after-press-service

Address

บริษัท เค.ทิพ 999 จำกัด

59/448 ซอยพุทธมณฑลสาย 2 ซอย 24 

แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา

กรุงเทพฯ 10170

Contact

Tel: 02-448-3885
Mobile: 062-653-6392 ,
081-352-7135  
FAX :  0-2885-7874
Email: ktipgiftpremium@gmail.com , info@ktip.co.th

QR Website

 

Copyright © 2018 | Designed by Megaweb.co.th