Blog

Alt Full Image

เกร็ดความรู้...วิธีการเข้าเล่มสมุดและหนังสือ

"การเข้าเล่มนั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้นำไปใช้งานและวัตถุประสงค์ในการใช้งาน การออกแบบงานเพื่องานเข้าเล่ม จะต้องคำนึงถึงการจัดวางหน้ากระดาษ ระยะขอบและระยะเข้าเล่ม เพื่อนำไปเข้าเล่ม โดยไฟล์งานที่จัดทำต้องมีความสอดคล้องกันกับการเข้าเล่มที่ต้องการ"

การเข้าเล่มมี 6 แบบ ได้แก่

การเข้าเล่มแบบกาวหัว เหมาะกับงานพิมพ์ประเภทสมุดฉีกบิลเล่มกระดาษก้อนหรือกระดาษโน้ตที่สามารถฉีกออกมาได้เป็นแผ่นๆ การเข้าเล่มแบบกาวหัวนี้สามารถทำได้ตั้งแต่ 50 แผ่นขึ้นไป กระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มกาวหัวคือกระดาษปอนด์

การเข้าเล่มแบบไสกาว นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท นิตยสารแค็ตตาล็อกโฟโต้บุ๊ค หนังสือเรียนรายงานประจำปี และวารสาร จำนวนหน้าที่เหมาะแก่การไสกาวคือ 30 -150 หน้า หรือความหนาของสันเริ่มต้นตั้งแต่ 5 ซมความหนาของกระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มไสกาวตั้งแต่ 70 – 160 แกรม

การเข้าเล่มแบบเย็บกี่ไสกาว เป็นการเข้าเล่มโดยจะต้องจัดชุดแบบมุงหลังคาแบ่งเป็นเล่มเล็ก ๆ และเย็บด้วยด้ายก่อน แล้วนำไปใสกาวอีกที การเข้าเล่มแบบนี้ทำให้งานที่ได้มีความแข็งแรง แน่นหนา เนื้อในไม่หลุดง่าย นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภทนิตยสารแค็ตตาล็อกโฟโต้บุ๊ค และหนังสือเรียน จำนวนหน้าที่เหมาะแก่การไสกาวคือ 150 หน้าเป็นต้นไป หรือความหนาของสันเริ่มต้นตั้งแต่ 5 ซมความหนาของกระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มเย็บกี่ไสกาวตั้งแต่ 70 – 160 แกรม

การเข้าเล่มแบบเย็บแม็คมุงหลังคา นิยมใช้ในงานพิมพ์ที่มีจำนวนหน้าน้อย ๆ ในการเข้าเล่มแบบนี้จะต้องหาร 4 ลงตัว กล่าวคือเริ่มต้นด้วยจำนวนหน้า 8,12,16,20,24,28 หน้า ความหนาของกระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มแบบมุงหลังคาตั้งแต่ 70 – 260 แกรมนิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท เมนูอาหารแค็ตตาล็อกสมุดเรียนสมุดบันทึก และวารสาร

การเข้าเล่มแบบเย็บหมุด คือการเข้าเล่มแบบตอกหมุด ถึง 4 ตัว ตามความเหมาะสมของรูปเล่ม การเข้าเล่มแบบเย็บหมุดนิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท เมนูอาหาร และแค็ตตาล็อกสินค้า จำนวนหน้าที่เหมาะแก่การเข้าหมุดคือ 20 หน้าเป็นต้นไปความหนาของกระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มแบบเย็บหมุดตั้งแต่ 160- 350 แกรม การเข้าเล่มแบบเย็บหมุดนี้ต้องเว้นสันเพื่อใช้ในการเข้าหมุด ประมาณ 2 ซม.

การเข้าเล่มแบบเข้าห่วง คือการเข้าเล่มโดยการเจาะรูบนตัวงานเป็นแถวเดียวกันเพื่อใช้ในการร้อยห่วงมีการเว้นขอบคล้ายๆการเข้าเล่มแบบเย็บหมุดนิยมใช้ในงานพิมพ์ที่ต้องการเข้าเล่มประเภท 

สมุดโน้ตสมุด Planner, เมนูอาหาร และแค็ตตาล็อก จำนวนหน้าที่เหมาะแก่การเข้าห่วงคือ หน้าเป็นต้นไป ความหนาของกระดาษที่นิยมนำมาเข้าเล่มแบบเข้าห่วงตั้งแต่ 160- 350 แกรม

http://www.ktip.co.th/index.php/after-press-service

Address

บริษัท เค.ทิพ 999 จำกัด

59/448 ซอยพุทธมณฑลสาย 2 ซอย 24 

แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา

กรุงเทพฯ 10170

Contact

Tel: 02-448-3885
Mobile: 062-653-6392 ,
081-352-7135  
FAX :  0-2885-7874
Email: ktipgiftpremium@gmail.com , info@ktip.co.th

QR Website

 

Copyright © 2018 | Designed by Megaweb.co.th